เมนู

บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
เหมือนปลาทำลายข่ายหนีไป เหมือนไฟไม่
หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรด ฉะนั้น
ดังนี้.
ในบทที่ 2 แห่งคาถานั้น วัตถุที่สำเร็จด้วยด้ายเรียกว่า ชาลํ ข่าย.
น้ำ เรียกว่า อัมพุ. ซึ่งว่า อัมพุจารี ปลา เพราะอรรถว่า ว่ายไปในน้ำนั้น.
คำว่า อัมพุจารี นั้นเป็นชื่อของปลา ปลาที่ว่ายไปในน้ำ ชื่อว่า สลิลัมพุจารี.
มีอธิบายว่า ดุจปลาทำลายข่ายในน้ำแห่งนทีนั้น.
ในบาทที่ 3 สถานที่ถูกไฟไหม้ เรียกว่า ทฑฺฒํ แปลว่าที่ไหม้แล้ว.
มีอธิบายว่า ไฟย่อมไม่หวนกลับไปสู่สถานที่ไหม้แล้ว คือ ไม่มาในที่ไหม้แล้ว
นั้นโดยแท้ฉันใด บุคคลไม่กลับสู่ที่แห่งกามคุณที่ไฟ คือ มรรคญาณไหม้แล้ว
คือไม่มาในที่แห่งกามคุณนั้นโดยแท้ ฉันนั้น. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั้น
แล.
สันทาลนคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 29


คาถาว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ดังนี้ อุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในพระนครพาราณสี พระราชาพระนามว่า จักขุโลล-
พรหมทัต
ทรงโปรดการดูนักฟ้อน เหมือนพระเจ้าปาทโลลพรหมทัต. ส่วน
ความแปลกกัน ดังนี้ :-
พระเจ้าปาทโลลพรหมทัตทรงไม่พอพระราชหฤทัยแล้ว เสด็จไป ณ
ที่นั้น ๆ พระเจ้าจักขุโลลพรหมทัตนี้ ทรงเห็นนักฟ้อนนั้น ๆ แล้ว ทรง